ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2565 เป็นต้นมา กัญชาได้มีการปลดล็อคออกจากการเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 วงการแพทย์จึงได้เกิดนวัตกรรมใหม่มากมาย ที่นำกัญชามาเป็นทั้งยากัญชารักษาโรค ผลิตภัณฑ์อาหาร รวมไปถึงเครื่องสำอาง ทั้งแบบภูมิปัญญาชาวบ้านและการแพทย์สมัยใหม่ คลินิกกัญชาทางการแพทย์ผุดขึ้นทั่วประเทศ เพื่อเป็นการแพทย์ทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการกลับสู่วิถีธรรมชาติ พึ่งสมุนไพรแทนยาเคมี แต่กัญชาที่ร่ำลือกันว่าดีนักหนาจะช่วยรักษาโรคอะไรได้บ้าง
สรรพคุณของกัญชา และกัญชารักษาโรคอะไรบ้าง
สรรพสรรพคุณของกัญชารักษาโรคจากงานวิจัยที่ผ่านการเผยแพร่แล้ว สามารถรักษาอาการเหล่านี้
- ลดอาการปวด สาร CBD สามารถใช้ลดอาการปวดแบบฉับพลันและแบบเรื้อรัง โดยเฉพาะการใช้เพื่อระงับการปวดแบบเรื้อรังที่นับเป็นสาเหตุหลักของการใช้สารสกัดกัญชาในการลดอาการปวด และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้เพิ่มขึ้น
- ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน จากการได้รับเคมีบำบัด มีผลการวิจัยทางคลินิกยืนยันว่า Nabilone ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่เป็นอนุพันธ์ของสาร THC มีประสิทธิภาพในการลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้ดีกว่ายาบางชนิด
- ช่วยควบคุมอาการลมชัก จำนวนผู้ป่วยโรคลมชักคิดเป็น 1% ของประชากรโลก และพบว่าผู้ป่วย 20-30% ยังไม่สามารถควบคุมอาการชักได้โดยใช้ยาที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีการทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยที่ประสบปัญหาไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ เมื่อให้ยากันชักร่วมกับการให้สาร CBD พบว่า 37% ของผู้ป่วย ไม่เกิดอาการชักตลอดการศึกษา และอีก 37% มีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นคือทำให้เกิดอาการง่วงนอน
- ลดอาการปลอกประสาทเสื่อม ซึ่งมักเกิดร่วมกับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อซึ่งจะทำให้ เกิดอาการปวดรุนแรงและมีอาการปวดแบบเรื้อรัง พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาที่มีส่วนผสมของสาร THC และสาร CBD สามารถช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้ รวมถึงในการทดสอบทางคลินิกยังไม่พบอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง
- คลายความวิตกกังวล จากประวัติการใช้กัญชารักษาโรคเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายในอดีตทำให้มีความเป็นไปได้ที่สารกลุ่มแคนนาบินอลน่าจะมีฤทธิ์คลายความวิตกกังวล จากรายงานทางคลินิกพบว่าการใช้สาร Fatty acid amide hydrolase inhibitors (FAAH inhibitors) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Endocannabinoids มีความสามารถในการลดอาการวิตกกังวลได้ ปัจจุบันสารหลายชนิดในกลุ่มนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบทางคลินิก
- ป้องกันและรักษาอาการสมองฝ่อ จากผลการวิจัยต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน พบความเป็นไปได้ในการใช้สารกลุ่ม Acid Cannabinoids และ Endocannabinoids ในการรักษาความผิดปกติทางสมอง แต่ปัจจุบันยังไม่มีการสรุปที่ชัดเจน แต่มีสารหลายชนิดทั้งในกลุ่ม CB1/CB2 Agonist/Antagonist และ Endocannabinoids ที่กำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบทางคลินิก
- การรักษามะเร็ง ในปี ค.ศ. 1975 มีนักวิจัยกลุ่มแรกที่รายงานว่าสาร THC สามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดและยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกมะเร็งในหนูทดลองได้ หลังจากนั้นได้มีการวิจัยเพิ่มและพบว่าสารหลายชนิดในกลุ่ม Cannabinoids (THC, CBD) สามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ได้ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งปัจจุบันสารในกลุ่มนี้อยู่ในระหว่างการศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่าการให้สาร Cannabinoids ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด Temozolomide สามารถช่วยลดการเติบโตของเนื้องอกสมองได้อย่างดี
- ลดความดันในตาของผู้ป่วยต้อหิน สามารถลดความดันในลูกตาของผู้ป่วยต้อหินได้ แต่เป็นการออกฤทธิ์ในระยะสั้น 2-3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามพบว่ายานี้ก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ในระหว่างใช้ จึงต้องมีการทดลองเพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
- เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์ ผลการวิจัยพบว่าสาร THC นั้นสามารถช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้ผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์ เมื่อมีการทดลองใช้ทางคลินิกเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์
- รักษาโรคอัลไซเมอร์ มหาวิทยาลัยฟลอริดาได้ทดลองนำกัญชารักษาโรครักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากพบว่าสารเดลตา 9 มีความสามารถในการยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษ อีกทั้งยังสามารถยับยั้งการทำงานของไมโทคอนเดรียได้
- รักษาโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ จากการศึกษาค้นพบว่ากัญชาสามารถบรรเทาอาการคัน บวม และลดการอักเสบของผู้ป่วยได้ถึง 86.4% ทั้งในโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำและโรคผิวหนังอักเสบ
- บรรเทาอาการพาร์กินสัน เพราะในกัญชามีสารไฟโตแคนนาบินอยด์ หากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันใช้น้ำมันกัญชาวันละ 2-5 หยด จะช่วยลดสารโดพามีนที่มีผลต่อการอักเสบในสมอง ทำให้ระบบหลั่งสารสื่อประสาทให้ดีขึ้น
และการใช้กัญชารักษาโรคทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งจากงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับ จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์ ทั้งสาร CBD และสาร THC นั้นมีมากมายและยังคงมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าหากเรายังเป็นคนที่แข็งแรง ไม่ป่วยหรือมีโรคประจำตัว ก็สามารถใช้กัญชาช่วยสนับสนุนให้มีผลดีต่อสุขภาพได้ เพราะกัญชามีฤทธิ์ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดีมากขึ้น นอนหลับง่าย ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง ต่อต้านอาการซึมเศร้า และยับยั้งเซลล์มะเร็ง
ทั้งหมดนี้ก็ต้องดูปัจจัยแวดล้อมด้านสุขภาพของแต่ละบุคคลเป็นหลัก เพราะการรักษาแต่ละอย่างก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน การใช้กัญชารักษาโรคจึงควรอยู่ภายใต้การกับกับดูแลของผู้เชี่ยวชาญ จึงจะเห็นผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามที่ต้องการนั่นเอง
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจกัญชาทางการแพทย์เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพ
ปรึกษาทีมสุขภาพของ POW MED คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โทร. 082-859-9441
หรือแอดไลน์ @powmedclinic (มี @ ด้านหน้า)
อ้างอิงที่มา :
เว็บไซต์เมดไทย บทความกัญชา
https://medthai.com/%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8a%e0%b8%b2/
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดลกัญชากับการรักษาโรคhttps://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/453/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2